วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

Programmable logic controller


Programmable logic controller







คุณสมบัติ
1. มีอินพุต 16 ตัว
2. มีเอ้าพุตแบบรีเลย์ 8ตัว หน้าคอนแทค10 A.
3. Supply มี2รุ่น คือใช้ไฟ 12 Vdc และ 24 Vdc
4.จอแสดงผลมีไฟมองในที่มืดได้
5.มี 3โหมด คือ PROGRAM , RUN , MONITOR ในโหมด MONITOR สามารถดูค่าสถานะต่างๆของแลดเดอร์ได้
6.มีฟังชั่นทดสอบการทำงานของรีเลย์เอ้าพุต
7.บอร์ดขนาด 13.1 x 11.4 cm
 
ส่วนฮาร์ดแวร์
 ส่วนประกอบของ PLC ก็คล้ายกับไมโครคอมพิวเตอร์ย่อส่วนนั่นเอง คือมีคีย์บอร์ด จอแสดงผล หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ภาคติดต่ออินพุตและภาคติดต่อเอ้าพุต
ส่วนประกอบ PLC

โปรแกรมแลดเดอร์
 ภาษาแลดเดอร์เป็นภาษาเชิงรูปภาพ ประกอบไปด้วย แลดเดอร์ไดอะแกรมเพื่อไว้ดู และคำสั่งแลดเดอร์เพื่อไว้สั่งงาน ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นออกแบบมาแทนวงจรรีเลย์ ดังนั้นแลดเดอร์ไดอะแกรมก็จะอ้างอิงวงจรซีเคว้นของรีเลย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการพัฒนาฟังชั่นให้สะดวกแ่ก่การใช้งานมากขึ้น แต่จะเป็น PLC ในรุ่นที่สูงๆ แต่ในการใช้งานจริงนั้น ถ้าไม่ซับซ้อนจนเกินไป ฟังชั่นพื้นฐานก็เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งฟังชั่นพื้นฐานดังนี้
1.LDเป็นการรับค่าเบื้องต้นของบล็อก
2.ORการ or หรือ การต่อแบบขนาน
3.ANDการ and หรือ การต่อแบบอนุกรม
4.NOTการ not หรือ การกลับค่า
5.OUTเอ้าพุตแบบรีเลย์
6.TIMเอ้าพุตแบบไทเมอร์หรือตัวจับเวลา
7.CNTเอ้าพุตแบบเค้าเตอร์หรือตัวนับ
8.KEEPเอ้าพุตแบบรีเลย์แบบมีแลตช์หรือค้างสถานะ
9.ENDคำสั่งจบโปรแกรม
  
 ก่อนที่เราจะเขียนโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือแอดเดรสหรือที่อยู่ของหน่วยความจำ อินพุต เอ้าพุตต่างๆของฮาร์แวร์นั้นๆ ซึ่ง PLC รุ่นนี้ มีแอดเดรสดังนี้
รีจีสเตอร์
แอดเดรส
รายละเอียด
INPUT (input port)
001-100
หมายถึงช่องรับสัญญานอินพุทจากภายนอกที่สามารถต่อเข้าไปใช้งานได้ มีแอดเดรสที่ 001-100 แต่ PLC รุ่นนี้ มีแค่16 อินพุท สามารถใช้ได้แค่ 001-016 ที่เหลือโปรแกรมสำรองไว้
OUTPUT (output relay)
101-150
หมายถึงรีเลย์เอ้าพุทที่ต่อใช้งานภายนอกมีแอดเดรสตั้งแต่ 101-150 แต่ PLC ที่เราสร้างนี้ มีแค่ 8 อินพุท สามารถใช้ได้แค่ 101-108 ที่เหลือโปรแกรมสำรองไว
KEEP (keep relay)
101-150
201-250
เป็นฟังชั่นคุมรีเลย์ชนิดหนึ่ง ให้รีเลย์ทำงานแบบแลทช์ ข้อมูลไว้ โดยการกระตุ้นสัญญานเพียงครั้งเดียวที่ขาเซ็ตหรือขารีเซ็ต รีเลย์ตัวนั้นก็จะ on หรือ off ตลอดไปจนกว่าจะมีการกระตุ้นเปลี่ยนสถานะใหม่ keep relay สามารถใช้ได้ทั้งรีเลย์ภายนอก(101-150) และรีเลย์ภายใน(201-250)
CNT (counter)
151-160
ตัวนับมี10ตัว มีแอดเดรสอยู่ที่ 151-160 แต่ละตัวสามารถนับได้ 9999 หากต้องการนับมากกว่านี้ ให้ต่ออนุกรมกัน
TIM (timer relay)
161-180
ไทเมอร์ ตัวจับเวลามีความละเอียดขนาด 0.1 วินาที มี 20 ตัว แต่ละตัวสามารถตั้งค่าสูงสุดได้ 999.9 วินาที หากต้องการค่านานกว่านี้ให้ต่ออนุกรมกัน ไทเมอร์มีแอดเดรสอยู่ที่ 161-180
TR (temporary relay)
181-190
เทมโพรารี รีเลย์ เป็นรีเลย์ชั่วคราวที่ช่วยในการเขียนโปรแกรม ในกรณีที่ในแต่ละแร็ง (rang) มีขนาดยาวเกินไป มีให้ใช้10ตัว เมื่อหมดแร็งสามารถเอาTR ตัวเดิมมาใช้ได้อีก โดยTR1-TR10 หรือมีแอดเเดรสอยู่ที่ 181-190
spare
191-200
แอดเดรส 191-200 สำรองไว้ใช้เป็นฟังก์ชั่นในอนาคต
IR (internal relay)
201-250
รีเลย์ภายใน ใช้งานเหมือนกับ output relay แต่ว่าไม่มีขาต่อมาที่ฮาร์แวร์ภายนอก
ใช้ช่วยในการเขียนโปรแกรม มีแอดเดรสอยู่ที่ 201-250
SP (special relay)
251-255
รีเลย์ พิเศษ ที่โปรแกรมสร้างไว้ให้แล้วสามารถเอาหน้าคอนแทคมาใช้ได้เลย
มีแอสเดรสอยู่ที่ 251-255
251=pulse 0.1 sec สัญญานพัลส์กว้าง 0.1 วินาที หรือ 0.2 วินาที/รอบ
252=pulse 0.5 sec สัญญานพัลส์กว้าง 0.5 วินาที หรือ 1.0 วินาที/รอบ
253=pulse 1.0 sec สัญญานพัลส์กว้าง 1.0 วินาที หรือ 2.0 วินาที/รอบ
จำนวนหน่วยความจำที่เขียนได้
250 บรรทัด
*หมายเหตุ คำสั่ง CNT และ TIM ใช้คำสั่งละ 2บรรทัด
นอกนั้นคำสั่งละ 1 บรรทัด
 จะเห็นว่า รีจีสเตอร์ด้านบนจะเก็บค่าต่างๆไว้ที่แอสเดรสไม่ซ้ำกัน ดังนั้นเมื่อเราเขียนคำสั่งใดๆก็ต้องระบุแอดเดรสให้ตรงกับกลุ่มของแต่ละคำสั่งด้วย แต่ตอนที่คีย์คำสั่งนั้น โปรแกรมจะแสดงค่าบอกให้เราทราบอยู่แล้วว่า แอดเดรสที่กำลังคีย์อยู่นั้นเป็นแอดเดรสของอะไร ช่วยเตือนให้เราไม่หลงลืมได้

 มาดูการเขียนโปรแกรมแลดเดอร์กันต่อ ตอนนี้สำหรับท่านที่ยังไม่เคยเขียนโปรแกรมแลดเดอร์มาก่อนอาจจะยังนึกภาพไม่ออก แต่ตอนท้ายจะมีการยกตัวอย่างการใช้งานจริง คงจะนึกภาพออกได้แน่นอน เพราะโปรแกรมแลดเดอร์เขียนไม่ยาก ตัวอย่างที่แสดงให้ดูนี้ก็เพื่อให้นึกภาพออกว่า แลดเดอร์ไดอะแกรมแต่ละแบบ สามารถแปลงมาเป็นคำสั่งแลดเดอร์ได้อย่างไร
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแลดเดอร์

คำสั่งพื้นฐาน
สัญลักษณ
คำสั่งแลดเดอร
ชื่อ
รายละเอียด
LD
LOAD
หน้า contact NO
ถ้าเริ่มบล็อกจะใช้ LD
AND
AND
OR
OR
LD NOT
LOAD NOT
หน้า contact NC
ถ้าเริ่มบล็อกจะใช้ LD NOT
AND NOT
AND NOT
OR NOT
OR NOT
OUT
OUT RELAY
รีเลย์ทำงานแบบ
มีไฟจ่ายคอยล์ทำงาน
OUT NOT
OUT NOT RELAY
รีเลย์ทำงานแบบ
ไม่มีไฟจ่ายคอยล์ทำงาน
KEEP
KEEP RELAY
รีเลย์ทำงานค้างสถานะ
กระตุ้นแค่ครั้งเดียว
ขา S เซ็ต
ขา R รีเซ็ต
CNT
COUNT
ตัวนับ
ขา cnt เป็นขานับ
ขา reset เป็นขารีเซ็ต
ค่าสูงสุด 9999
TIM
TIMER
ตัวจับเวลา
จับเวลาสูงสุด 999.9 sec

 ข้อกำหนดเบึ้องต้น หน้าคอนแท็คแต่ละแอดเดรส สามารถใช้ได้กี่ครั้งก็ได้
 รีเลย์แต่ละแอดเดรสสามารถใช้ได้แค่ครั้งเดียวใน1โปรแกรม ยกเว้น รีเลย์ชั่วคราว TR181-TR190
 เช่นเราใช้คำสั่ง OUT 101 ไปแล้ว จะไม่สามารถใช้คำสั่ง OUT 101 หรือ KEEP 101 ได้อีก
แต่หน้าคอนแทค 101 สามารถนำไปใช้ได้ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น LD 101, OR 101,หรือ AND 101 ก็ตาม
 หน้าคอนแท็คติดต่อภายนอกคือ 001-016
 รีเลย์ติดต่อภายนอกคือ 101-108
 รีเลย์ภายในคือ 201-250
แลดเดอร์ไดอะแกรม
คำสั่งแลดเดอร

EX1
1.LD001
2.OUT101
3.END 
ทุกครั้งที่เริ่มต้นบล็อกจะต้องใช้คำสั่ง LD หน้าคอนแท็คก่อน
จากตัวอย่างถ้ามีการต่อให้อินพุต 001ต่อวงจร รีเลย์101
จะทำงานด้วย การทำงานก็เหมือนกับวงจรรีเลย์ไฟฟ้าทั่วไป

EX2
1.LD001
2.AND002
3.OUT NOT101
4.END 
ตัวอย่างที่ 2 เริ่มมีการ and

EX3
1.LD001
2.OR002
3.OUT101
4.END 

ตัวอย่างที่ 3 มีการ or

EX4
1.LD001
2.OR002
3.AND NOT003
4.OUT101
5.END 

ตัวอย่างที่ 4 เริ่มมีการผสม or กับ and

EX5
1.LD001
2.OR003
3.LD002
4.OR NOT004
5 AND LD 
6.OUT101
7.END 

เริ่มมี 2 บล็อก ทุกครั้งที่เริ่มบล็อกใหม่ต้องใช้คำสั่ง LD ก่อน
ในตัวอย่างมี 2 บล็อก และบล็อกมีการ and กัน ใช้คำสั่ง AND LD

EX6
1. LD001
2. AND NOT002
3. LD003
4. AND004
5 OR LD 
6. OUT NOT101
7. END 

มี 2 บล็อก ทุกครั้งที่เริ่มบล็อกใหม่ต้องใช้คำสั่ง LD ก่อน
ในตัวอย่างมี 2 บล็อก และบล็อกมีการ or กัน ใช้คำสั่ง OR LD

EX7
1.LD001
2.OUT101
3.OUT102
4.END 

ตัวอย่าง 7 การสั่งรีเลย์หลายตัว

EX8
1.LD001
2.OUT101
3.AND002
4.OUT NOT102
5.END 
ตัวอย่างที่ 8-9 การทำงานเหมือนกัน จะเห็นว่าตัวอย่างที่ 8
จะเขียนคำสั่งที่ง่ายและสั้นกว่า ต่างกันที่การเขียนไดอะแกรม ดังนั้นการเขียนไดอะแกรมก็มีผลต่อการเขียนแลดเดอร์เหมือนกัน

EX9
1.LD001
2.OUT TR1171
3.AND002
4.OUT NOT102
5.LD TR1181
6.OUT101
7.END 

การเขียนไดอะแกรมลักษณะนี้ต้องใช้รีเลย์ชั่วคราว พักข้อมูลไว้ก่อน
ในตัวอย่างพักไว้ที่ TR171 แล้วค่อยโหลดไปใช้

EX10
1.LD001
2.AND002
3.OUT NOT102
4.LD001
5.OUT101
6.END 

ในตัวอย่าง 10 แตกมาจาก ตัวอย่าง 9 แสดงให้เห็นว่า
สามารถเขียนไดอะแกรมได้อีกแบบ และเขียนแลดเดอร์ได้ง่ายขึ้น

EX11
1.LD001
2.OR NOT004
3.OUT TR1171
4.LD002
5.AND NOT003
6.AND LD 
7.OUT101
8.LD TR1181
9.AND005
10.OUT102
11.END 

ตัวอย่าง11 ถ้าไดอะแกรมซับซ้อนขึ้น
การใช้รีเลย์ชั่วคราว TR ก็เป็นสิ่งจำเป็น

EX12
1.LD001
2.LD002
3.KEEP101
4.END 

ตัวอย่าง 12-13 การทำงานเหมือนกัน
แต่ถ้ามีหน้าคอนแท็คมากกว่านี้ การใช้ KEEP จะสะดวกกว่า

EX13
1.LD001
2.OR101
3.AND NOT002
4.OUT101
5.END 

ตัวอย่าง 13 หน้าคอนแท็ค 101 ทำหน้าที่ล็อกตัวเอง
หรือเรียกว่าการอินเตอร์ล็อก( interlock)

EX14
1.LD001
2.TIM161
3.........................#010.5
4.LD TIM161
5.OUT101
6.END 

ตัวอย่าง14 การใช้ ไทเมอร์จับเวลา
#10.5 คือ 10.5 วินาที

EX15
1.LD001
2.LD002
3.CNT151
4.........................#0120
5.LD CNT151
6.OUT105
7.END 

ตัวอย่าง 15 การใช้งาน เค้าเตอร์ ตัวนับ
#120 คือนับคบ120ครั้ง สั่งทำงาน

EX16
1.LD001
2.AND NOT TIM161
3.TIM161
4..........................#060.0
5.LD TIM161
6.LD002
7.CNT151
8.........................#0030
9.LD CNT151
10.OUT108
11.END 

ตัวอย่าง 16 การจับเวลา 30 นาที แล้วสั่งให้รีเลย์ทำงาน
โดยใช้ไทเมอร์กับเค้าเตอร์ประกอบกัน
( 60 วินาที x 30 =1800 วินาที หรือ = 30 นาที)

EX17
1.LD252
2.LD002
3.CNT151
4..........................#1800
5.LD CNT151
6.OUT108
7.END 

ตัวอย่าง 17 การจับเวลา 30 นาที เหมือนตัวอย่าง 16
แต่ใช้รีเลย์พิเศษ 252 ช่วย ซึ่งรีเลย์252มีความถี่=1วินาที
( 1 วินาที x 1800 =1800 วินาที หรือ = 30 นาที)

EX18 
1.LD001
2.OUT201
3.LD002
4.OUT202
5.LD201
6.AND202
7.OUT107
8.LD NOT201
9.LD NOT202
10.OUT108
11.END 
ตัวอย่าง 18 มีการใช้รีเลย์ภายใน201,202 พักข้อมูลของอินพุตไว้
มีประโยชน์มากในกรณีที่มีการใช้อินพุตควบคุมหลายที่
แล้วหากมีการย้ายตำแหน่งอินพุตไปคำแหน่งอื่น เช่นจาก001
ไปใช้ 005 เราก็เปลี่ยนที่เดียวไม่ต้องเปลี่ยนหลายที่

1.LD001
2.OR101
3.TIM161
4.......................#000.5
5.AND NOT TIM161
6.OUT101
7.END 
ตัวอย่างที่ 19 เป็นตัวอย่างวงจร one short timer เอาไปใช้งานในลักษณะกระตุ้นที่อินพุตครั้งเดียว เอ้าพุตทำงานในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น เครื่องจักรหมุนครบ1รอบ ให้พ่นน้ำ 1ครั้ง
1.LD001
2.OR002
3.OR003
4.OR004
5.OR005
6.OR006
7.OR007
8.OR008
9.OR009
10.OR010
11.OR011
12.OR012
13.OUT101
14.OUT102
15.OUT103
16.OUT104
17.OUT105
18.OUT106
19.OUT107
20.OUT108
21.END 

ตัวอย่างที่ 20 ทดสอบการทำงานของภาค input/output ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่
ตัวอย่างการคีย์

รูป keyboard

1.LD001
2.OUT TR1181
3.AND002
4. OUT101
5.LD TR1181
6.OUT NOT102
7.END 
ตัวอย่างการ key
สังเกตบรรทัดที่2 ไม่ต้องkey TR1 โปรแกรมจะขึ้นให้เอง
เมื่อ key 181

1.
2.
3.
4.
5.
6.
...
7.
1.LD008
2.TIM161
3........................#
015.0
4.LD TIM161
5.CNT151
6........................#
0100
7.OUT108
8.END 

ตัวอย่างการ key
สังเกตบรรทัดที่ 4 ไม่ต้องkey TIM โปรแกรมจะขึ้นให้เอง
เมื่อ key 161

1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
1.LD001
2.AND NOT TIM161
3.END 
1.
2.
_ 
3.
การเลื่อนไปทีละบรรทัด
 เลื่อนขึ้น
 เลื่อนลง
การเลื่อนไปโดยระบุบรรทัด
เช่นไปบรรทัดที่ 50
การแทรกบรรทัด
1.LD001
2.OUT101
3.END 
ก่อนแทรก 
1.LD001
2. 
3.OUT101
4.END 
หลังจากแทรก
 เลื่อนไปบรรทัดที่ต้องการ

การลบบรรทัด
1.LD001
2.OR002
3.OUT101
4.END 
ก่อนลบ
1.LD001
2.OUT101
3.END 
หลังจากลบ
 เลื่อนไปบรรทัดที่ต้องการ
การล้างหน่วยความจำทีละบรรทัด
1.LD001
2.OR002
3.OUT101
4.END 
ก่อนล้าง
1.LD001
2. 
3.OUT101
4.END 
หลังจากล้าง
 เลื่อนไปบรรทัดที่ต้องการ
การล้างหน่วยความจำทั้งหมด
การทดสอบรีเลย์ output

เข้าสู่โหมดทดสอบรีเลย์เอ้าพุต
 เลื่อนไปรีเลย์ตัวที่ต้องการ มี 1-8
 กดปุ่ม TEST รีเลย์ตัวที่เคอเซอร์กระพริบอยู่จะทำงาน ON-OFF สลับกัน
 หรือเลื่อนไปทดสอบรีเลย์ตัวอื่นๆอีกก็ได้
 หากต้องการยกเลิกโหมดทดสอบรีเลย์ กดปุ่ม enter จะเข้าสู่โหมดปกติ


ภาพตัวอย่าง
การต่อสายใช้งาน
 การต่อสายใช้งานควรต่อดังนี้
1. ไฟเข้า 24 V สายไฟควรตีเกียวกัน เพื่อลดสัญญาณรบกวน และหากจะให้ดี ควรใช้ power supply แบบ switching เพราะจะกันสัญญานรบกวนได้ดีกว่าแบบธรรมดา และหากต่อผ่าน noise filter ก็จะดียิ่งขึ้น
2. อินพุตของ PLC เป็นแบบคอมมอนด์ลบ การต่อสวิทช์คือต่ออินพุตกับคอมมอนด์ หรือกับไฟ 0V
3. เอ้าต์พุตเป็นแบบรีเลย์แยกอิสระต่อกัน ไม่มีสายคอมมอนด์ ทนกระแสได้ 10A 250V ควรต่อฟิวส์ป้องกันหน้าคอนแท็ครีเลย์ ถ้าไปใช้กับอุปกรณ์ที่ช็อตแล้วทำให้หน้าคอนแท็ครีเลย์เสียหายได้เช่น โซลีนอยด์วาล์ว หรือมอเตอร์ขนาดเล็ก ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่
ต้องต่อผ่านแม็คเนติกก่อน ถ้าเป็นพวกหลอดไฟก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟิวส์ ประโยชน์อีกอย่างของฟิวส์ก็คือในการซ่อมจะง่ายขึ้น เมื่อเห็นว่าฟิวส์ของอุปกรณ์ตัวใดขาด แสดงว่าอุปกรณ์ตัวนั้นต้องมีอะไรผิดปรกติ เราก็จะรู้และแก้ไขได้เร็วขึ้นในการซ่อมบำรุง


รูปการต่อสายใช้งาน
ตัวอย่างการใช้งาน
 อย่างที่กล่าวมาแต่ต้น การยกตัวอย่างการใช้งานจริงจะเห็นภาพชัดขึ้น นี่เป็นตัวอย่างการย้ายชิ้นงาน งานที่ใช้การทำงานลักษณะนี้ เช่น การบรรจุชิ้นงานลงกล่อง การย้ายชิ้นงานเข้าเตาอบ การย้ายสายพานลำเลียง เป็นต้น จากรูปตัวอย่าง การทำงานจะมีดังนี้ ชิ้นงานถูกลำเลียงมาตามคอนเวเยอร์หรือสายพาน ผ่านโฟโต้เซนเซอร์ซึ่งเป็นตัวเซนเซอร์ชนิดใช้แสงสะท้อนกลับ เมื่อตัวเซนเซอร์เจอชิ้นงาน ส่งสัญญาณมาให้ PLC นับ เมื่อครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ ส่งสัญญานไปเปิดโซลีนอยด์วาล์ว ให้ลมไหลผ่านเข้ากระบอกสูบไซเลนเดอร์ทำงาน ดันชิ้นงานไปตำแหน่งที่ต้องการ โดยมีไทเมอร์เป็นตัวจับเวลาถอยกลับ และกระบอกสูบสามารถทำงานได้อีกกรณีคือ ถ้าชิ้นงานไหลเลยมาโดนลิมิตสวิทช์ ให้สั่งให้กระบอกสูบทำงานด้วย สำหรับใช้ในกรณีที่ชิ้นงานขาดช่วง หรือตัวเซนเซอร์นับไม่ครบ ทำให้ชิ้นงานจะไหลเลยมาโดนลิมิตสวิทช์ การทำงานก็มีดังที่กล่าวมา ดูที่รูปประกอบ
รูปตัวอย่างการใช้งาน
 หลังจากที่ออกแบบด้านฮาร์ดแวร์กันแล้วว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นก็มาดูด้านโปรแกรมแลดเดอร์กัน ก่อนเขียนโปรแกรมก็มาดูที่สัญญาณ ด้านอินพุตเบื้องต้นน่าจะมีอะไรบ้าง ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมทีหลังได้อีก
1. โฟโต้เซนเซอร์
2. ลิมิตสวิทช์
3. สวิทช์เปิด
4. สวิทช์ปิด
5. สวิทช์แมนนวล หรือสวิทช์ทดสอบการทำงานของกระบอกสูบ

 มาดูที่ด้านเอ้าต์พุตบ้าง เบื้องต้น ก็คงมี
1. โซลีนอยด์วาล์ว
2. หลอดไฟแสดงการทำงานของโซลีนอยด์
3. หลอดไฟแสดง on-off ของเครื่อง
 ขั้นแรกก็ต้องเขียนแลดเดอร์ไดอะแกรมขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นค่อยมาแปลเป็นคำสั่งแลดเดอร์


แลดเดอร์ไดอะแกรม

คำสั่งแลดเดอร์

Address
Instruction
Operand
Comment
001LD001 สวิทช์เปิด
002OR201 
003AND NOT002 สวิทช์ปิด
004OUT201 
005LD201 
006OUT101 หลอดไฟปิดเปิด
007LD003 โฟโต้สวิทช์
008LD NOT201 
009OR CNT151 
010CNT151 
011#0005นับ5ชิ้น
012LD004สวิทช์กดทดสอบ
013OR005ลิมิตสวิทช์
014OR CNT151 
015OUT202 
016LD202 
017OR102 
018AND NOT TIM161 
019OUT102โซลีนอยด์วาล์ว
020OUT103หลอดแสดงการทำงาน
021LD102 
022TIM161 
023#0100ทำงาน10วินาที
024END  

 เมื่อได้คำสั่งแลดเดอร์แล้ว ก็คีย์ค่าต่างๆเข้าไป แล้วต่ออุปกรณ์ตามอินพุตเอ้่าต์พุตที่กำหนดไว้ แล้วทดลองทดสอบการทำงานของเอ้าต์พุตในโหมดโปรแกรมก่อน วิธีทดสอบย้อนกลับไปดูได้อีกครั้ง ที่หัวข้อการทดสอบรีเลย์ เมื่อเอ้าต์พุคทำงานปรกติแล้ว ก็เปลี่ยนโหมดไปเป็นโหมดมอนิเตอร์ ทดลองดูค่าต่างๆ เมื่อทำงานดีแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นโหมดรัน โหมดมอนิเตอร์กับโหมดรัน ทำงานเหมือนกัน แต่โหมดรันป้องกันการกดคีย์บอร์ดโดยไม่ตั้งใจ
การต่อใช้งานจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น