วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบ SCADA



รายงานสรุประบบ  SCADA   ของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

                เขื่อนแม่กวงอุดมธารา  โครงการส่งและบำรุงรักษาแม่กวง  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักชลประทานที่  1  กรมชลประทาน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ทำการติดตั้งระบบ SCADA   เสร็จสมบรูณ์เดือนสิงหาคม  พ.ศ.  2544 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น  15  ล้านบาท

                ระบบ   SCADA   ย่อมาจาก   Supervisory  Control  And  Data  Acquisition  เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมการส่งน้ำ, ตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อน  และข้อมูลปริมาณน้ำฝน  ของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา  โดยใช้คอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์  เป็นตัวควบคุมทั้งหมด  ซึ่งจะสามารถทำการควบคุมเขื่อนอัตโนมัติในระบบ  Real  Time  ตลอดเวลา  24  ชั่วโมง  1  วัน  และ  365  วันใน  1  ปี  พร้อมทั้งทำการเก็บข้อมูล, ตรวจสอบระบบ,   แจ้งเตือน  เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจัดทำรายงานอัตโนมัตินอกจากนี้ยังสามารถทำการควบคุมการส่งน้ำออกจากเขื่อน ,  รับทราบข้อมูลปริมาณน้ำและข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาและสามารถเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำเขื่อนแม่กวงและการระบายน้ำจริงในแบบ  Real  Time  ได้จากกรมชลประทานสามเสนกรุงเทพ  หรือสำนักชลประทานที่ 1  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่หรือจากทุกแห่ง  (Anywhere)  และทุกเวลา  (Anytime)  ได้ซึ่งจะทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมและรับทราบเหตุการณ์สถานการณ์น้ำของเขื่อนแม่กวงในระบบ  Real  Time  หรือเวลาจริง  โดยมิต้องรอการรายงานจากเขื่อน  ทำให้สามารถบริหารงาน, วางแผนและแก้ไข สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ  ได้ทันท่วงที

ระบบ  SCADA  มีความสามารถดังต่อไปนี้
1.  Automation  Control  ควบคุมการส่งน้ำและตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อนรวมตัวข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาอัตรโนมัตโดยสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติงานล่วงหน้าให้ระบบทำงานเอง
2.  Data  Acquisitions  เก็บข้อมูล, ประมวลผลข้อมูลและจัดทำรายงานโดยคอมพิวเตอร์ของระบบ  SCADA  โดยอัตโนมัติ
3.  Remote  Control  &  Remote  Access  สามารถทำการควบคุมและรับทราบข้อมูล  (Share  Data)  ได้จากทุกแห่ง  (Anywhere)  และทุกเวลา  (Anytime)
4.  Self  Diagnostic  ตรวจสอบความผิดปกติของระบบ  SCADA   อัตโนมัติ    ดยระบบจะทำการตรวจสอบ ะบบคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ของระบบ  SCADA  ตลอดเวลา  เมื่อเกิดความผิดปกติ  จะทำการแจ้งเตือน  Operator  หรือหัวหน้าโครงการอัตโนมัติ  ผ่านระบบโทรศัพท์
5.  Warning  &  Alarming  System   การเตือนภัยและแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน  เช่น  ปริมาณน้ำฝน  มีปริมาณมากผิดปกติหรือปริมาณน้ำในเขื่อนสูงกว่าระดับวิกฤตจะทำการแจ้งเตือนไปยัง  Operator ,  หัวหน้าโครงการอัตโนมัติ  แม้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในเวลา  กลางคืน  ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอยู่ก็ตาม
6.  Remote  Camera  System  สามารถเห็นภาพปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงและการระบายน้ำทั้งหมดได้จากศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนแม่กวง  และจากกรมชลประทานสามเสนหรือหน่วยงานอื่นได้ในแบบ  Real  Time

ประโยชน์หลักที่ได้รับจากการใช้ระบบ  SCADA  คือ

1.  เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำ  โดยจะทำให้สามารถส่งน้ำออกจากเขื่อน  เพื่อใช้ในการเกษตร,  อุปโภค  บริโภค  และอุตสาหกรรม  ได้อย่างประหยัด  โดยสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำตลอด  24  ชั่วโมง  ตลอด  365  วัน  โดยสามารถทำการควบคุมและรักทราบข้อมูลได้จากระยะไกล
2.  เพิ่มความปลอดภัยในการจัดการน้ำ  โดยระบบ  SCADA  ทำการตรวจวัดปริมาณน้ำในเขื่อน ,  ปริมาณน้ำฝน  และข้อมูลอุตุ  อุทกวิทยา  ในระบบ  Real  Time  และทำการแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังกรมชลประทานสามเสน ,  สำนักชลประทานที่ 1  และ  ฯลฯ  เมื่อสถานการณ์น้ำและปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มว่าไม่ปลอดภัย
3.  เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบฐานข้อมูล  ระบบ  SCADA  เป็นระบบควบคุมและเก็บข้อมูลอัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดของระบบ  Information  Technology   และ  Industrial  Automation  Technology  ทำงาน  Real  Time  24  ชั่วโมง  สามารถควบคุม ,  รับทราบข้อมูลและเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำในเขื่อนและการส่งน้ำได้จากทุกแห่ง  (Anywhere)  ทุกเวลา  (Anytime)
                ระบบ  SCADA  ซึ่งใช้ในการควบคุมการทำงานของเขื่อนและระบบส่งน้ำใช้เทคโนโลยีสูงและมีใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก  โดยได้พิสูจน์การใช้งานแล้วว่าประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่าการลงทุน






               
ระบบ  SCADA  ของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

                                ระบบ   SCADA  (Supervisory  Control  And  Data  Acquisition)  ของเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมการส่งน้ำออกจากเขื่อนอัตโนมัติ  โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมผ่านอุกรณ์  Programmable  Logic  Controller  (PLC)  และใช้สายนำสัญญาณแบบเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นตัวเชื่อมสัญญาณการควบคุมจากศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนแม่กวง  (Mae  Kuang  Operation  Control  Center)  ไปยังห้องควบคุมประตูระบายน้ำทั้ง  5 แห่ง  ของเขื่อนแม่กวงในแบบ Remote  Control  (ดังแสดงในแผนผังแสดงระบบควบคุมการส่งน้ำของเขื่อนแม่กวง)  เพื่อควบคุมการปิด-เปิดบานประตูระบายน้ำ ,  วัดปริมาณน้ำในเขื่อน ,  ปริมาณน้ำที่ระบาย ,  ปริมาณน้ำฝน  ,  ปริมาณการระเหย ,  ตรวจสอบระบบ ,  เก็บข้อมูล ,  จัดทำรายงานและแจ้งเตือนเมื่อเหตุฉุกเฉิน  อีกทั้งยังสามารถเห็นภาพเหตุการณ์จริงของปริมาณน้ำในเขื่อนแม่กวงและการระบายน้ำทั้งหมดได้  โดยการทำงานทั้งหมดจะทำงานแบบ  Real  Time   (ข้อมูล  ณ  3  นาที  ตลอด  24  ชัวโมง  ตลอด  365  วัน)  และสามารถควบคุม (Control)  และเข้าถึงข้อมูล   (Share  Data)   ได้จากส่วนกลาง  หรือ  หน่วยงานอื่นได้ทุกแห่ง   (Anywhere)  และทุกเวลา   (Anytime)

ความสามารถของระบบ  SCADA

                                1.  ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอัตโนมัติ  (Automation  Control ระบบ  SCADA  จะควบคุมการทำงานของการปิด-เปิดบานประตูน้ำ, วาล์ว  ต่าง ๆ ,  ระบบไฮโดรลิค  และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองอัตโนมัติ  โดยสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานตามเวลาที่กำหนด  (Schedule)  ในตารางการส่งน้ำได้
                                2.  เก็บข้อมูล  (Data  Acquisitions)  ระบบ   SCADA  จะเก็บข้อมูลการควบคุมและการตรวจวัดเข้าระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ  โดยจะเก็บข้อมูลปริมาณน้ำที่ส่งออก,  ปริมาณน้ำเก็บกักในเขื่อน ,  ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน , ปริมาณน้ำฝน , การควบคุมการปิด-เปิดบาน ,  การแจ้งเตือนเมื่อระบบขัดข้อง  และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ  อัตโนมัติ  โดยข้อมูลต่าง ๆ  จะเก็บอยู่ใน   Server ของระบบ  SCADA
                                3.  ตรวจสอบตัวเอง  (Self  Diagnostic)  ระบบ  SCADA  จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ ,  เครื่องจักรที่ทำการควบคุมทั้งหมดตลอดเวลา  โดยจะแจ้งเตือน  Operator   ผ่านทางระบบโทรศัพท์เมื่ออุปกรณ์ขัดข้อง
                                4.  แจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน  (Alarming  and  Warning)  ระบบ  SCADA  จะทำการแจ้งเตือนผู้ควบคุมระบบ  Operator  เมื่อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ขัดข้อง  หรือเกิดเหตุฉุกเฉินที่  Operator  ตั้งค่าไว้  เช่น  ปริมาณน้ำในเขื่อนสูงกว่าระดับวกฤต ,  ปริมาณฝน  มีความเข้มสูงผิดปกติ  หรือมีผู้บุกรุกห้องควบคุม  โดยสามารถแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือ ,  เพจเจอร์  โดยสามารถพัฒนาให้เป็นระบบ  Flood  Warning  ได้ในอนาคต
                                5.  การจัดทำรายงาน  (Reporting)  ระบบ  SCADA  สามารถจัดทำรายงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องได้  เช่น   รายงานการส่งน้ำ,  รายงานสภาพน้ำในเขื่อน ,  รายงานสภาพฝน  โดยสามารถสั่งให้พิมพ์ข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติ
                                6.  การเข้าถึงข้อมูลจากระยะไกล  (Remote  Access)  สามารถเข้าถึงข้อมูลของระบบ  SCADA   ได้จากภายนอก  เช่น  จากกรมชลประทานสามเสน ,  สำนักชลประทานที่  1  จังหวัดเชียงใหม่   โดยผ่านระบบโทรศัพท์   Log  In   ตรงเข้าสู่   Server  Unit   ของระบบ  หรือ  จากระบบ  Internet   (กำลังพัฒนา)  ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของเขื่อนแม่กวงได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในห้องควบคุมหลักหรือไม่ซึ่งจะทำให้กรมชลประทานสามเสน  สามารถรับทราบข้อมูลสำคัญของเขื่อนแม่กวงในแบบเวลาจริง  (Real  Time)
                                7.  Remote Control  & Remote  Access   สามารถทำการควบคุมและรับทราบข้อมูล (Anywhere)  ได้จากทุกแห่ง  (Anytime)  และทุกเวลา

                                นอกจากนี้ระบบ  SCADA  ยังสามารถพัฒนาให้สามารถใช้งานใน  Application  อื่นโดยการเชื่อมต่อระบบ  SCADA  ให้สามารถ  Control   หรือ  เชื่อมข้อมูลกับระบบต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

                                1.  ระบบ  Dan  Instrument  ของงาน  Dam  Safety  (แผนงานปี  2545) 
                                     โดยเชื่อมข้อมูลการตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อนในกรณีของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา  ข้อมูลจากเครื่องมือวัด  เช่น  Piezometer, Earth  Pressure  Cell,  Siesmometer  และ ฯลฯ  ซึ่งต้องเป็นระบบสัญญาณไฟฟ้า  โดยเชื่อมเข้าสู่ระบบ  SCADA  โดยจะจัดเก็บข้อมูล  Dam  Safety อัตโนมัติในแบบ  Real  Time  ซึ่งศูนย์ความปลอกภัยเขื่อน  กรมชลประทานสามเสน  สามารถ   Log  In  เข้ามา  Download  ข้อมูล  หรือ  Download  จาก  Internet  ได้

                                2.  ระบบ  Real  Time  Internet  Data  System
                                      โดยส่งข้อมูลของระบบ  SCADA  ที่เปิดเผยได้  เข้าสู่ระบบ  Internet  ในแบบ  Real  Time  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถรับทราบข้อมูลทั้งหมดในแบบ  Real  Time  ซึ่งสะดวกและประหยัดที่สุด

3.       ระบบ  Telemetering  ของงาน  Hydrology
โดยการติดตั้งสถานีวัดน้ำท่า  และน้ำฝนอัตโนมัติตามจุดต่าง ๆ  ของพื้นที่รับน้ำของเขื่อนและในพื้นที่ส่งน้ำ  และส่งสัญญาณผ่านระบบวิทยุ  หรือระบบสื่อสารอื่น  ๆ  ตามความเหมาะสมมายังศูนย์ควบคุมการส่งน้ำของเขื่อนแม่กวง

4.       ระบบ  Decision  Support  System  (DSS)  หรือ  Expert  System
DSS  เป็นระบบฐานข้อมูลช่วยในการตัดสินใจในการวางแผนการส่งน้ำและจัดการน้ำของลุ่มน้ำต่าง ๆ  ส่วน  Expert   System  เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีของ  Artificial  Intelligence  ซึ่งเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำประสบการณ์มาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

5.       ระบบ  Canal  Automation  (Water  Distribution  or  Water  Delivery  Automation)
โดยการติดตั้ง  Electric  Gear  Motor  และระบบควบคุมการปิด-เปิดบานอัตโนมัติที่อาคารในคลองส่งน้ำ  เช่น  อาคารอัดน้ำ  (Check  Structuer), ปตร.ปากคลองส่งน้ำ  (Head  Regulator)  ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำในคลองส่งน้ำได้อัตโนมัติ  ในระบบ Remote  Control  โดยสามารถทำงานร่วมกับระบบ  Telemetering  เช่น  เมื่อพื้นที่ทำนาของคลองซอย  16  ของคลองสายใหญ่ฝั่งซ้าย  มีปริมาณน้ำฝนมาก  อุปกรณ์  Automatic  Rain  Gauge  Telemetering  จะส่งข้อมูลมายัง  ระบบ  SCADA  ของศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา  จากนั้นระบบ  SCADA  สั่งการลดการส่งน้ำจากเขื่อนแม่กวงโดยการลดบานประตูน้ำลง  และสั่งปิด  ปตร. ปากคลองสายซอย  16  โดยสั่งการผ่านระบบวิทุไปยังอุปกรณ์ควบคุมการ ปิด-เปิด  บานประตูท่อส่งน้ำซึ่งติดตั้งที่  ปตร.

การทำงานของระบบ  SCADA

                                ระบบ  SCADA  ของเขื่อนแม่กวงอุดมธาราประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก  ดังต่อไปนี้
1.       อุปกรณ์ระบบควบคุมอัตโนมัติ  PLC  (Programmable  Logic  Controller)
2.       โปรแกรมระบบ  SCADA  ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า  HMI  Software  (Human  Machine  Interface)
3.       ระบบคอมพิเตอร์หลัก
4.       ระบบควบคุมสำรอง  (Operator  Terminal)
5.       อุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ  เช่น  (Flowmeter ,  levelmeter ,  Gate  position  Sensor  และ  Automatic  Rain  Gauge)
6.       ระบบ  Communication  (สายเคเบิลใยแก้วนำแสง, อุปกรณ์แปลงสัญญาณ)
7.       ระบบ  Close  Circuit  Television  (ระบบโทรทัศน์วงจรปิด)
8.       ระบบ  Hydraulic  ปิด-เปิดบานประตูท่อส่งน้ำ
9.       เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง


หลักการทำงาน

                                ระบบคอมพิวเตอร์หลัก  ณ  ศูนย์ควบคุมการส่งน้ำเขื่อนแม่กวง  ซึ่งติดตั้ง  SCADA  Software  จะสั่งการ  Control  การเปิด-ปิด  บานประตูท่อส่งน้ำโดยกำหนด  Set  Point  ค่าปริมาณน้ำที่จะ  ส่งออกไปยัง  PLC  ของห้องควบคุมประตูน้ำแต่ละท่อส่งน้ำผ่านระบบ Communication  (สายเคเบิลใยแก้วนำแสง)  ซึ่งใน  PLC  จะมีโปรแกรมการทำงานของเครื่องจักอยู่  จากนั้น  PLC  จะสั่งการ  Control  ไปยังระบบ  Hydraulic  ปิด-เปิด  บานประตูท่อส่งน้ำ

                                6.  ระบบ  Intelligent  Real  Time  Flood  Warning  System
                                     เป็นระบบเตือนภัยน้ำท่วมของลุ่มน้ำ  ซึ่งเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงมากโดยจะต้องเชื่อมข้อมูลการตรวจวัดสภาวะอากาศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล  Real  Time  การเกิดฝน ,  พายุ  จากดาวเทียมตรวจวัด  Tropical  Rainfall  ซึ่งใช้ทำนาย  เพื่อประเมินปริมาณน้ำฝนที่จะตกจริงหรือพายุที่จะเกิดขึ้นจริงจากทาง  Physical  ของความชื้น,  กลุ่มเมฆ, ความเร็ว, ทิศทางลม  และอุณหภูมิ  โดยมิใช่ข้อมูล  Real  Time  จากสถิติ  และมีระบบ  GIS  และ  Remote  Sensing  ซึ่งต้องเชื่อมข้อมูลล่าสุดกับดาวเทียมตรวจวัดสภาพพื้นที่โลกเพื่อตรวจวัดและประเมินความสามารถในการรับและระบายน้ำจริงของพื้นที่  นอกจากนี้ต้องมีระบบ  Expert  System  (ระบบผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำเทคโนโลยีของ  Artificial  Intelligent  มาใช้)  สำหรับการจัดการลุ่มน้ำโดยเฉพาะเพื่อประเมินสถานการณ์จากข้อมูลจำนวนมาก  ทั้งข้อมูลอุตุนิยมวิทยา, ข้อมูลอุทกวิทยา, ข้อมูลสภาพพื้นที่เพาะปลูก,  ที่อยู่อาศัย  และข้อมูลการประเมินความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นจากการถูกน้ำท่วม  และที่สำคัญต้องเชื่อมข้อมูลกับระบบ  SCADA  เพื่อให้สามารถทำการ  Control  ได้
                                การเชื่อมข้อมูลทั้งหมดดังกล่าว  หากจะได้ผลจริงต้องได้รับความร่วมมือในการเชื่อมระบบฐานข้อมูล  Real  Time  ระหว่างกรมชลประทาน, กรมอุตุนิยมวิทยา,  กรมที่ดิน,  กรมป่าไม้  และหน่วยงานในต่างประเทศที่รับผิดชอบการ  Control  ดาวเทียมทั้ง  2  ดวง  ที่เป็นข้อมูลหลักของระบบ  ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบเตือนภัยน้ำท่วมให้ได้ผลจริงจะต้องได้รับการสนับสนุนสูงมากจากทางรัฐบาลทั้งในส่วนของงบประมาณ, การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งในและต่างประเทศ
                                ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  เช่น  สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น  และยุโรป  ก็ใช้แนวทางดังกล่าวเช่นกันในการพัฒนา  ซึ่งก็มีทั้ง  Project  ที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ   แต่ทุกประเทศที่พัฒนาระบบดังกล่าวได้เห็นคุณประโยชน์อย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการป้องกันภัยจากน้ำท่วม  ซึ่งธรรมชาติยังคงเป็นผู้มีพลังอำนาจมากที่สุดเสมอ

                                7.  ระบบการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำอัตโนมัติ  (Automation  Transbasin  System)
                                      การผันน้ำจากลุ่มน้ำที่มีปริมาณน้ำท่ามาก  ไปยังลุ่มน้ำที่มีปริมาณน้ำท่าน้อยนั้น  หากพัฒนาในแนวทางที่ถูกต้องจะได้ประโยชน์  2  ทาง  คือ
1.       ลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและป้องกันการเกิดน้ำท่วมในลุ่มน้ำที่มีปริมาณน้ำท่ามาก
2.     เพิ่มปริมาณน้ำท่าและผลผลิตทางการเกษตรและป้องกัน  บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อย
ระบบการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำนั้น  หากนำเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ ,  เครื่องมือวัดต่าง ๆ  และระบบการ  Control  มาใช้ในการปฏิบัติการก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการวางแผน ,   การส่งน้ำจริง,  การตรวจวัดปริมาณน้ำและความมั่นคงของท่อผันน้ำได้เป็นอย่างมาก  โดยควรนำเทคโนโลยีของระบบ  SCADA ,  Real  Time  Internet  Data  System ,  Telemetering ,  Expert  System ,  Intelligent  Real  Time  Flood  Warning  System  ซึ่งจะมีความซับซ็อนทางเทคโนโลยีสูงมากแต่ก็มีความจำเป็น  เหตุเนื่องจากการผันน้ำมีเรื่องความปลอดภัยในการ Operate  ความขัดแย้งระหว่างลุ่มน้ำต้นและลุ่มน้ำด้านท้าย  ซึ่งถ้ามีการ  Operate  ไม่ดีพอจะเกิดปัญหาตามมามากมาย

สรุป        ดังจะเห็นได้ว่าระบบการจัดการน้ำที่มีการ  Control  จริง  โดยมีการตรวจวัดหรือรับข้อมูลจริง  ประเมินผล -  เตือนภัย  - ควบคุม  ในแบบ  Real  Time  นั้น  จะอาศัยระบบ  SCADA  เป็นพื้นฐานทั้งสิ้น

การติดตั้งปั้มน้ำอัตโมัติ


การติดตั้งปั๊มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ
Diagran การติดตั้งปั้มน้ำและแท้งค์เก็บน้ำ

อุปกรณ์ที่่ใช้ในการติดตั้ง

รายการอุปกรณ์                                         ราคา(บาท)
 1.แท้งค์น้ำ ความจุ 800 ลิตร 1แท้งค์                                      3200  บาท     
 2.วาล์วเปิด-ปิดน้ำ 3-4ตัว                                                     50  บาท   
 3.ท่อน้ำขนาด2-4นิ้วยาว30เมตร(เผื่อไว้ตามควมต้องการ),ข้อต่อ   500  บาท                              
 4.ปั้มน้ำขนาด300วัตต์                                                         2200  บาท
 5.เบรกเกอร์                                                                      80 บาท   

                                                               รวม 6,030  บาท

วิธีการติดตั้ง
             
               1. ควรตั้งระยะดูดไม่ให้เกิน 9 เมตร  เพื่อให้การสูบน้ำเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระยะท่อดูดน้ำจากปั๊มน้ำถึงถังเก็บน้ำที่อยู่บนพื้นดินไม่ควรเกิน 9 เมตร หรือสำหรับถังเก็บน้ำที่อยู่ใต้ดิน ควรให้ปลายท่อดูดน้ำจากก้นถังถึงระดับกึ่งกลางของปั๊มน้ำไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน
              2. ควรติดตั้งปั๊มน้ำใกล้บ่อน้ำ  ควรให้ระยะความลึกของท่อน้ำจากกึ่งกลางปั๊มน้ำถึงระดับใต้ผิวน้ำในบ่อไม่เกิน 9 เมตรเช่นกัน เพื่อความสะดวกต่อการซ่อมแซมและการระบายน้ำ
              3. ควรยึดเครื่องกับแท่นหรือพื้นที่แข็งแรง เช่น คอนกรีต หรือทำกรอบไม้เพื่อยึดขาปั๊มเพื่อเข้ากับพื้นให้  มั่นคงและได้ระดับ ไม่เช่นนั้นจะมีเสียงดังขณะปั๊มทำงาน
              4. การต่อท่อ  การต่อท่อที่ดีจะต้องมีข้อต่อให้น้อยที่สุด เพื่อลดการสูญเสียอัตราการไหลของน้ำเนื่องจากความเสียดทานภายในท่อ  ท่อทางด้านสูบควรมีความลาดเอียงไม่เกิน 2 เซนติเมตรทุกความยาวท่อ 1 เมตร เพื่อให้การสูบน้ำของปั๊มน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด  ต้องระวังอย่าให้เกิดรอยรั่วตามข้อต่อไม่ว่าจะเป็นท่อทางด้านสูบหรือด้านส่ง  เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำ คือถ้าท่อทางด้านสูบก่อนเข้าปั๊มน้ำมีการรั่ว จะทำให้มีอากาศเกิดขึ้นในท่อ และทำให้ไม่สามารถสูบน้ำให้ไหลต่อเนื่องและเต็มท่อได้ ส่งผลให้น้ำทางด้านส่งหรือด้านที่ต่อออกจากปั๊มน้ำไปถึงก๊อกน้ำมีอัตราการไหลน้อยกว่าปรกติ และหากยังคงมีอากาศเข้าในระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ปั๊มน้ำไหม้ได้  กรณีที่มีการรั่วท่อด้านส่ง   หรือท่อที่ต่อไปก๊อกน้ำ จะมีผลให้ปั๊มน้ำทำงานบ่อยครั้ง  การรั่วเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงหยดน้ำเล็ก ๆ ก็มีผลทำให้ความดันในเส้นท่อลดลง และเมื่อลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิตซ์ความดันจะสั่งงานให้ปั๊มน้ำทำงาน  
                    ดังนั้นเมื่อต่อท่อของระบบเสร็จแล้วควรมีการทดสอบการรั่วของท่อ โดยอัดน้ำเข้าในเส้นท่อจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากความดันในปั๊มน้ำไม่มีการลดลงก็แสดงว่าระบบท่อไม่มีการรั่ว
                 สำหรับการสูบน้ำจากบ่อ การต่อท่อด้านสูบของปั๊มน้ำที่จะต้องจุ่มปลายท่อลงในบ่อน้ำควรใส่ฟุตวาล์ว (Foot Valve)และตัวกรองน้ำไว้ที่ปลายท่อสูบด้วย เพื่อกรองเศษใบไม้ เศษหิน เศษดิน ไม่ให้เข้าไปอุดตันในปั๊มน้ำ และฟุตวาล์วยังป้องกันน้ำในระบบท่อไหลย้อนกลับไปในบ่อน้ำขณะที่ปั๊มหยุดทำงาน  และฟุตวาล์วควรสูงจากพื้นก้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ผงหรือตะกอนถูกสูบขึ้นมา
                 
                   5. การติดตั้งถังเก็บน้ำ  สำหรับบ้านพักอาศัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ควรติดตั้งถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำบนดินหรือใต้ดิน ให้ต่อจากมิเตอร์วัดน้ำของการประปา เพื่อสำรองน้ำจากท่อประปาไว้ในถังเก็บน้ำให้มากพอ แล้วจึงต่อท่อน้ำส่งเข้าตัวปั๊มน้ำ เมื่อเราใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ พร้อมกันหลายจุด แรงดันในท่อน้ำจะลดลง ปั๊มน้ำก็จะเริ่มทำงานเกิดแรงดันให้น้ำไหลได้มากขึ้น   แต่ถ้าเป็นอาคารสูงหลาย ๆ ชั้น การติดตั้งจะเหมือนแบบตามบ้านอาศัย แต่จะเพิ่มถังเก็บน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคาร แล้วปั๊มน้ำจากระดับพื้นดินสู่ถังเก็บน้ำชั้นบน เพื่อสำรองไว้ใช้ตามจุดใช้น้ำตามแต่ละชั้นของอาคาร

การใช้งานปั๊มน้ำ 
                เมื่อติดตั้งปั๊มน้ำและระบบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก่อนใช้ปั๊มน้ำควรปฏิบัติดังนี้
       1. ปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ  ปิดอุปกรณ์ใช้น้ำและปิดก๊อกน้ำให้สนิท
       2. ถอดจุกเติมน้ำของตัวปั๊มน้ำ
        3. เติมน้ำให้เต็มจนมีน้ำล้น
        4. ปิดจุกให้แน่น
        5. ต่อระบบไฟฟ้า  ให้ปั๊มทำงาน
        6. เมื่อปั๊มน้ำทำงานแล้ว  ให้เปิดวาล์วของท่อด้านส่งน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้น้ำทีละน้อย  แต่ถ้าปั๊มน้ำทำงานแล้วมีน้ำออกน้อยหรือน้ำไม่ไหล  อาจเป็นเพราะว่าครั้งแรกเติมน้ำน้อยเกินไป ให้เติมน้ำใหม่อีกครั้ง        
 ข้อแนะนำในการติดตั้ง

     1. บ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่ไม่ได้เดินท่อ สำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้าน จำเป็นต้องตั้งแท้งค์
ที่หน้าบ้าน ซึ่งควรตั้งฝั่งเดียวกับมิเตอร์น้ำหน้าบ้าน เพราะจะเดินท่อจากมิเตอร์น้ำเข้าแท้งค์
ได้สะดวกไม่เกะกะ

     2. ทาวน์เฮ้าส์ที่เดินท่อสำหรับการตั้งแท้งค์หลังบ้านไว้แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการขนย้าย แท้งค์เข้าติดตั้งได้หรือไม่ ซึ่งต้องยกข้ามกำแพงด้านหลังบ้าน หากไม่สามารถเข้าได้ ต้อง
เลือกใช้แท้งค์ขนาดเล็ก ซึ่งยกเข้าทางประตูบ้าน โดยทั่วไปแท้งค์ขนาด 70 ซม.จะเข้าประตู
ได้ บางบ้านอาจจะใหญ่กว่านี้ขึ้นกับขนาดประตู

     3. กรณีทาวน์เฮ้าส์หลังริม, บ้านแฝด,บ้านเดี่ยว ที่สามารถเดินท่อน้ำจากมิเตอร์ไปยังด้าน
หลังได้ ควรตั้งแท้งค์ไว้หลังบ้านฝั่งเดียวกับมิเตอร์ แท้งค์จะได้ไม่เกะกะหน้าบ้านและไม่ต้อง
เดินท่อไกล

     4. กรณีบ้านที่ท่อน้ำเข้าบ้านอยู่ใต้พื้นคอนกรีตหน้าบ้าน อาจจะตั้งแท้งค์บริเวณหน้าบ้าน
(หากไม่เกะกะเกินไป) จะทำให้ไม่ต้องเดินท่อไกล ถ้าตั้งแท้งค์หลังบ้านต้องเดินท่อไปเข้า
แท้งค์และเดินท่อกลับมาหน้าบ้าน ซึ่งจะสิ้นเปลืองค่าท่อและไม่สวยงาม 

     5. จุดตั้งแท้งค์ควรมีพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำ ระยะห่างไม่เกิน 2 เมตร และปั๊มควรอยู่ในบริเวณที่กัน
แดด กันฝน ถ้าตั้งปั๊มไกลจะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองท่อ และไม่สวย
งาม

     6. ควรตั้งแท้งค์น้ำห่างจากกำแพงรั้วหรือผนังบ้าน อย่างน้อย 5 เซนติเมตร 

     7. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์ใต้หลังคาที่มีน้ำหยดลงแท้งค์ 

     8. หลีกเลี่ยงการตั้งแท้งค์บนพื้นที่ลาดเอียง